Posted on

จัดการได้ถูกเมื่อรู้จักอาการ “ปวดเมื่อย”

ใครไม่เคยมีอาการ “ปวดเมื่อย” บ้างยกมือขึ้น!!!
พอฟังคำถามนี้ก็สงสัยขึ้นมาทันทีว่า จะมีใครบ้างหรือไม่ ที่ไม่เคยมีอาการปวดเมื่อยเลย ไม่ว่าจะปวดขาปวดแขนปวดไหล่ ปวดข้อมือ ปวดอะไรก็แล้วแต่ น่าจะไม่มีนะ ทุกคนผ่านอาการปวดเมื่อยมาทั้งนั้น ตั้งแต่เด็ก ๆ เรียนพละก็มักจะปวดเมื่อยเสมอ ๆ จนถึงวัยทำงาน ไม่ว่าจะอาชีพอะไรก็มีโอกาสปวดเมื่อยได้ทุกอาชีพ อยู่บ้านทำงานบ้านก็ปวดเมื่อยได้ง่ายเหลือเกิน แม้จะไม่ได้ทำอะไร นั่ง ๆ นอน ๆ อยู่เฉยๆ ก็ปวดเมื่อยขึ้นมาซะงั้น

หนีไม่พ้นอาการปวดเมื่อย เราจึงต้องมาทำความเข้าใจกับอาการปวดเมื่อยกันดีกว่านะคะ

อาการปวดเมื่อยเกิดได้จากสาเหตุหลายอย่าง แบ่งกลุ่มอาการตามสาเหตุได้ 5 กลุ่ม ดังนี้

  1. การปวดเมื่อยที่มีสาเหตุจากกล้ามเนื้อ

การปวดกล้ามเนื้อมักพบที่คอ บ่า หลัง และเอว เป็นส่วนใหญ่ อาการจะปวด ๆ เมื่อย ๆ บริเวณที่เป็นปัญหา และมักจะเป็นผลจากการอยู่ในท่าหนึ่งท่าใดที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน เช่น การนั่งทำงานในท่าหลังงอเป็นเวลานาน อาจจะเป็นความเคยชิน ท่านอนที่ไม่เหมาะสมก็เป็นเหตุทำให้ปวดเมื่อยได้ง่าย หมอนสูง หมอนแข็ง หมอนยุบ ก็เป็นสาเหตุให้ปวดเมื่อยคอได้ ที่นอนที่ยุบตัวจะทำให้หลังอยู่ในท่างอเกินไป ทำให้ปวดหลังได้ ที่นอนที่แข็งเกินไป ถ้านอนหงายช่วงสะโพกจะกดที่นอน แต่ช่วงเอวที่เว้าขึ้นจะลอยไม่มีอะไรรองรับก็จะทำให้เมื่อยเอวได้ การยกของหนักในท่าที่ไม่ถูกต้องก็เป็นสาเหตุให้เกิดการเจ็บปวดที่กล้ามเนื้อได้ง่ายเช่นกัน

  1. อาการปวด จากเส้นเอ็น

อาการปวดจากเส้นเอ็นพบบริเวณที่มีการเคลื่อนไหวข้อมาก ๆ เช่น บริเวณไหล่ ศอก ข้อมือ ส้นเท้า เอ็นร้อยหวาย สาเหตุเพราะเส้นเอ็นในบริเวณนั้นเกิดการอักเสบ จะมีอาการปวดมาก และไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ เช่นไหล่ติด จะยกแขนไม่ขึ้น ไม่สามารถขยับได้เหมือนปกติ และถ้าไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม อาจจะทำให้เกิดความพิการได้

  1. อาการปวดจากเส้นประสาทถูกกดทับ

อาการปวดจากเส้นประสาทกดทับจะปวดแสบ และร้าวไปตาม เส้นประสาท ตำแหน่งที่พบบ่อยคือที่บริเวณกระดูกคอ เกิดขึ้นจากกระดูกสันหลังบริเวณคอเสื่อม มีแคลเซียมมาเกาะ และกดลงไปที่เส้นประสาทที่ออกจากช่องระหว่างกระดูกคอ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดที่คอ ไหล่ และอาจจะปวด ลงไปที่แขน และมือ ส่วนใหญ่มักจะมีอาการที่คอด้านใดด้านหนึ่ง หรืออาจจะเป็นทั้ง 2 ด้านก็ได้

นอกจากที่คอแล้ว บริเวณหลัง เอว ก็เกิดอาการนี้ได้บ่อยเช่นกัน ส่วนมากเกิดจากการยกของหนัก ในท่าที่ไม่ถูกต้อง ทำให้ส่วนของกระดูกสันหลังที่เรียกว่า หมอนรองกระดูก ซึ่งอยู่ระหว่างกระดูกสันหลัง 2 อัน เคลื่อนออกมาจากตำแหน่งเดิม มากดทับเส้นประสาทที่อยู่ใกล้เคียง ผู้ป่วยจะเกิดอาการปวดหลังอย่างมาก และส่วนใหญ่จะเป็นแบบเฉียบพลัน จะมีอาการปวดร้าวไปที่ขาข้างใดข้างหนึ่ง อาการปวดที่รุนแรงจนถึงขั้นต้องนอนพักหลาย ๆ วัน

  1. ปวดข้อ

อาการปวดข้อพบได้มากในกลุ่มผู้สูงอายุ ข้ออาจเสื่อม พบมากที่ข้อเข่า หรือผู้ที่เป็นโรคอ้วนหรือมีน้ำหนักมาก หรือคนที่ทำงานแบกหามของน้ำหนักมาก ๆ นาน ๆ ทำให้ข้อเข่าต้องรับน้ำหนักมากกว่าปกติ ลักษณะการนั่งของบางคนที่นิยมนั่งกับพื้น นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิหรือนั่งยอง ๆ มีการพับงอของหัวเข่าอย่างมาก เส้นเอ็นและกล้ามเนื้อรอบเข่า มีการยืดผิดปกติ  เลือดจะมาเลี้ยงเข่าไม่สะดวก ทำให้เกิดปัญหาข้อเข่าได้

ข้อเสื่อมบริเวณนิ้วมือก็พบได้เช่นกัน จะมีอาการปวดและข้อบวมโตกว่าปกติ ที่ข้อนิ้วมือส่วนปลายเกือบทุกนิ้ว ส่วนมากมักพบในกลุ่มผู้หญิงที่ต้องทำงานบ้าน เช่น ซักผ้า บิดผ้าเป็นต้น

 

นอกจากนี้การปวดข้อยังมีสาเหตุจากโรคอื่น ๆ ได้ เช่น โรคเก๊าท์ การติดเชื้อในข้อ  รูมาตอยด์ เป็นต้น ผู้ป่วยโรคเก๊าท์มีสาเหตุจากกรดยูริกในเลือดไปตกตะกอนที่ข้อ ทำให้เกิดการอักเสบขึ้น  ส่วนใหญ่ มักจะเริ่มปวดข้อครั้งแรกในวัยกลางคน มักปวดที่ข้อที่ข้อนิ้วหัวแม่เท้าเป็นส่วนใหญ่ แต่อาจจะปวดที่ข้ออื่น ๆ ก็ได้ ที่ข้อจะมีอาการบวม แดง ร้อนชัดเจน และเจ็บมากเวลามีการเคลื่อนไหวหรือถูกกระทบกระทั่ง บางครั้งรักษาหายแล้ว แต่ไม่ดูแลตัวเอง ไม่ควบคุมอาหาร ก็อาจทำให้โรคกำเริบได้อีก ดังนั้นคนที่เป็นโรคเก๊าท์จะต้องพบแพทย์และติดตามการรักษาเป็นระยะ เพื่อควบคุมให้ปริมาณกรดยูริกในเลือดอยู่ในระดับที่เหมาะสม

  1. การปวดเมื่อยจากเส้นเลือด

ถ้าเส้นเลือดแดงตีบแคบลง เลือดเดินไปสู่กล้ามเนื้อไม่สะดวก จะทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยที่กล้ามเนื้อส่วนที่เส้นเลือดแดงตีบได้  ซึ่งการปวดจะค่อนข้างเร็ว จนไม่สามารถทำภารกิจต่อได้ ต้องหยุดพัก หรือหยุดเคลท่อนไหว เช่น ถ้าเส้นเลือดแดงที่ขาตีบ หากเดินมาก แต่เลือดไปเลี้ยงที่ขาไม่ได้ ทำให้กล้ามเนื้อขาปวดมากจนเดินต่อไม่ไหวจนต้องหยุดเดินและนั่งพัก จนอาการดีขึ้นจึงจะสามารถจะเดินต่อไปได้อีก

หลอดเลือดดำผิดปกติ เนื่องจากลิ้นกั้นในหลอดเลือดดำผิดปกติไป ส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่ขา พบในคนที่ต้องยืนทำงานเป็นเวลานาน ๆ และอาจพบบ่อยในสตรีที่กำลังตั้งครรภ์ เมื่อทารกในครรภ์โตขึ้น น้ำหนักจะกดลงที่เส้นเลือดดำในช่องท้องส่วนล่าง ทำให้เลือดดำจากขากลับสู่ช่องท้องไม่สะดวก เลือดจึงคั่งอยู่ที่ขา ทำให้ลิ้นกั้นในหลอดเลือดดำเสีย เกิดอาการปวดเมื่อยที่กล้ามเนื้อขาได้ มักปวดในช่วงเย็นของวันที่มีการยืนมาก ๆ และอาจปวดมากขึ้นในเวลานอน ทำให้นอนไม่หลับได้

นอกจากนี้ตำราแพทย์แผนไทยยังระบุว่า “ความเครียด” ยังเป็นสาเหตุของอาการปวดเมื่อยได้ เพราะคนที่เกิดความเครียด จะกระวนกระวาย นอนไม่หลับ เลือดลมจะไหลเวียนไม่สะดวก ไม่สามารถไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหรือร่างกายในจุดต่าง ๆ ได้ดี ส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อยได้เช่นกัน

สรุปต้นเหตุที่แท้จริงของอาการปวดเมื่อยมาจาก
1. การใช้งานกล้ามเนื้ออย่างหนักเป็นเวลานาน
2. การผิดปกติทางกาย เช่น หลังงอ น้ำหนักมาก
3. ท่าทางในการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น ยกของหนักผิดท่า การนั่ง การนอน การเดิน การยืน การกระโดด การ
วิ่ง การหมุน ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจจะเร็วเกินไป หรือมีแรงกระแทกแรงเกินไป
4. อายุที่มากขึ้น เป็นเหตุให้เกิดการเสื่อมของร่างกายได้
5. โรคที่อาจเกิดจากกรรมพันธุ์ หรือจากพฤติกรรมการกินอาหารที่ไม่ถูกต้อง
6. ความเครียด

ไม่ว่าจะปวดเมื่อยที่ส่วนใด หรือจากสาเหตุใด จำเป็นต้องรักษาให้ถูกต้องตามหลักทางการแพทย์ ซึ่งบางครั้งต้องใช้เวลานานพอสมควร ดังนั้น การใช้ยาทาหรือยานวด จึงเป็นทางออกที่ดีที่จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้ แม้ไม่ใช่การรักษาโรคให้หาย แต่สามารถช่วยให้ไม่ต้องทุกข์ทรมานจากอาการปวดเมื่อยได้ ทำให้รู้สึกสบายตัวขึ้น สามารถทำงานได้ตามปกติ
—————————————————————————————————————————————-

ให้โอกาส ซีไนน์ ได้ดูแลคุณ…

ซีไนน์ ยาครีมผสมสมุนไพรไทย”

บรรเทาอาการปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก เส้นเอ็นตึง นิ้งล็อค ปวดเมื่อยหรือบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย การทำงานหนัก และอาการปวดเมื่อยจากสาเหตุต่าง ๆ ผลิตจากสมุนไพรไทยสกัดเข้มข้น ถึง 6 ชนิด ได้แก่
เหง้าขมิ้นชัน

ต้นตะไคร้หอม

ผิวมะกรูด

หัวไพลสด

ใบส้มป่อย

ใบมะขามไทย

เนื้อครีมเนียนซึมซับได้เร็ว กลิ่นหอมสมุนไพรเหมือนการทำอโรมา จึงช่วยทำให้สดชื่นคลายความเครียดซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ปวดเมื่อยได้ ผลิตจากโรงงานที่มีศักยภาพในการสกัดสารสมุนไพรแบบขัมข้น ได้มาตรฐาน มีคุณภาพและปลอดภัย ที่สำคัญคือขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนโบราณ เป็นยาสามัญประจำบ้าน ที่ทุกบ้านควรมีไว้

 

 

By : Eedsbuyzone