6 ปัจจัยกระตุ้นการเกิด “สิว”
- กรรมพันธุ์
กรรมพันธุ์มีผลต่อการเกิดสิวด้วย ดูจากคุณพ่อคุณแม่ท่านใดมีสิวในช่วงวัยรุ่น ลูกก็อาจมีสิวคล้ายคุณพ่อหรือคุณแม่เช่นกัน - แบคทีเรีย
ภายหลังจากการอุดตันของคอมีโดน สิวที่เกิดขึ้นนั้นจะเป็นในลักษณะของสิวอุดตัน แต่เมื่อใดก็ตามที่มีการติดเชื้อแบคทีเรีย
ที่มีชื่อว่า Propionibacterium acnes ซึ่งมีชื่อย่อว่า P.acne (พี แอคเน่) จากสิวอุดตันที่เป็นอยู่ก็อาจพัฒนากลายเป็นสิวอักเสบเม็ดใหญ่ได้ - ฮอร์โมน
ปริมาณฮอร์โมนที่ไม่สมดุลภายในร่างกาย เช่น เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเพศชาย (Androgens) มากขึ้น ที่ชื่อว่าฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (Testosterone) ซึ่งสามารถกระตุ้นการผลิตไขมันในต่อมไขมันให้ผลิตไขมันส่วนเกิน (Seborrhea) เพิ่มมากขึ้น ผิวหน้าของหนุ่มสาวในช่วงวัยนี้จึงมีความมันเยิ้มมากขึ้น ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่สามารถนำไปสู่การเกิดสิวได้ - อาหาร & เครื่องดื่ม
อาหารบางชนิดจะไปทำให้ระดับฮอร์โมนในเลือดมากเกินไป และไปทำให้ต่อมไขมันผลิตน้ำมันมากขึ้น อาจจะส่งผลกระทบหรือเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดสิวได้ อาหารที่กระตุ้นการเกิดสิว เป็นอาหารที่มีน้ำมัน ของทอด กลุ่มอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลสูง คือ อาหารที่มีน้ำตาลสูงอย่างอาหารเครื่องดื่มที่มีรสหวาน ขนมปังขาว ข้าวขาว มันฝรั่ง ช็อกโกแลต ผลไม้บางชนิด เช่นแตงโม มะม่วง ขนุน ลำไย มะละกอ เป็นต้น - เครื่องสำอาง
เครื่องสำอางหรือผลิตภัณฑ์บำรุงหน้าที่ไม่มีคุณภาพ หรือมีสารอันตรายผสมอยู่อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองหรือไม่เหมาะกับสภาพผิว ซึ่งอาจทำให้ผิวแพ้จนเกิดสิวกำเริบได้ โดยเฉพาะกับผู้ที่มีผิวแพ้ง่ายต้องระวังในเรื่องของผลิตภัณฑ์สำหรับผิวหน้าเป็นพิเศษ เพราะบริเวณผิวหน้าเป็นบริเวณที่บอบบาง ง่ายต่อการถูกทำร้าย - นอนหลับไม่เพียงพอ & เครียด
เครื่องสำอางหรือผลิตภัณฑ์บำรุงหน้าที่ไม่มีคุณภาพ หรือมีสารอันตรายผสมอยู่อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองหรือไม่เหมาะกับสภาพผิว ซึ่งอาจทำให้ผิวแพ้จนเกิดสิวกำเริบได้ โดยเฉพาะกับผู้ที่มีผิวแพ้ง่ายต้องระวังในเรื่องของผลิตภัณฑ์สำหรับผิวหน้าเป็นพิเศษ เพราะบริเวณผิวหน้าเป็นบริเวณที่บอบบาง ง่ายต่อการถูกทำร้าย
“สิว” เกิดได้อย่างไร ?
สิว (acne) เกิดจากการอุดตันของ คอมีโดน (comedone) ภายในรูขุมขน ส่งผลให้เกิดสิวอุดตันขึ้นมาบนใบหน้า ทั้งนี้หากมีการติดเชื้อแบคทีเรียก็จะทำให้ลุกลามกลายเป็นสิวอักเสบได้ และหากมีอาการรุนแรงมาก ก็จะนำไปสู่ปัญหารูขุมขนกว้าง จนกลายเป็นหลุมสิวในที่สุด
คอมีโดน คืออะไร ?
คือสารที่มีลักษณะเหนียว ที่เกิดจากการรวมตัวกันของน้ำมัน + ขนอ่อน + เซลล์ผิวหนังหลุดลอก + แบคทีเรีย ซึ่งหากมีการสะสมของสิ่งเหล่านี้มากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะกลายเป็นก้อนคอมีโดน ก่อนจะเกิดเป็นสิวลักษณะต่างๆ ตามมา
“สิว” มีกี่ประเภท ?
เพื่อให้การดูแลรักษาสิวได้ผล ต้องเข้าใจก่อนว่าสิวมีกี่ประเภท เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย ต้องทำความเข้าใจกระบวนการเกิดสิว
4 step ดังนี้
Step 1 ภาวะผิวหนังผลิตไขมันมากผิดปกติ เกิดสิวอุดตันเริ่มแรก
โดยปกติต่อมไขมันจะหลั่งน้ำมัน เพื่อกักเก็บความชุ่มชิ้นใต้ผิว ซึ่งโดยคนที่เป็นสิวง่ายมีแนวโน้มจะมีฮอร์โมนแอนโดรเจนในเลือดสูง ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้จะกระตุ้นให้ต่อมไขมันผลิตน้ำมันออกมาในปริมาณมากกว่าปกติ ก่อให้เกิดการสะสมน้ำมันบนผิวหนัง และทำให้ต่อมไขมันอุดตัน ส่งผลให้เกิดสิว
Step 2 ภาวะชั้นผิวก่อตัวหนาขึ้นผิดปกติ (Hyperkeratosis) เกิดสิวอุดตันระยะหลัง
เกิดจากการก่อตัวหนาขึ้นผิดปกติของผิวชั้นนอก ซึ่งเป็นผลมาจากการผลิตเซลล์ผิวในต่อมไขมันมากกว่าปกติ ทำให้การหลุดออกของเซลล์ผิวไม่เป็นไปตามธรรมชาติอีกทั้งยังมีไขมันส่วนเกินดักจับเซลล์ที่ตายแล้วเหล่านี้ไว้บนผิวหนังจนทำให้เกิดการอุดตัน อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ชั้นผิวก่อตัวหนาขึ้นนั่นคือ แบคทีเรีย Propionibacterium acnes (หรือ P.acnes) โดยแบคทีเรีย P.acnes จะสร้างแผ่นฟิล์มบางๆ บนผิวหนังซึ่งจะขัดขวางกระบวนการหลุดลอกของชั้นผิวหนังตามปกติและก่อให้เกิดการอุดตัน
Step 3 แบคทีเรียกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ เกิดสิวอักเสบ
การสะสมของไขมันที่หลั่งออกมาจากต่อมไขมัน กลายเป็นแหล่งอาหารชั้นดีสำหรับแบคทีเรีย โดยเฉพาะแบคทีเรีย P.acnes แบคทีเรียชนิดนี้จะเข้ามาอาศัยอยู่ในต่อมไขมันที่มีการอุดตัน เพื่อย่อยสลายไขมันไปเป็นอาหาร กระบวนการนี้ก่อให้เกิดสารที่ทำให้เกิดการอักเสบ ทำให้เกิดสิวชนิดตุ่มนูนแดงและสิวหัวหนองขึ้นได้
Step 4 การอักเสบลุกลามมากขึ้น เกิดสิวอักเสบรุนแรง
แบคทีเรีย โดยเฉพาะแบคทีเรีย P.acnes มีการเจริญเติบโตมากขึ้น ไม่มีการควบคุมดูแลรักษาที่ดี เกิดการลุกลามมากขึ้น มีการอักเสบอย่างรุนแรง เกิดเป็นสิวอักเวบขนาดใหญ่ และสิวหัวช้าง
“สิว” มี 2 ประเภท
ตามกระบวนการเกิดสิว 4 Step แบ่งสิวเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. สิวอุดตัน (Step 1-2)
1.1 สิวหัวดำ (Black heads)
สิวชนิดนี้เรียกว่า สิวอุดตันหัวเปิด หรือ สิวหัวดำ มีลักษณะเป็นตุ่มนูน เม็ดเล็กๆ มีรูเปิดออกจนเห็นหัวสิว และมองเห็นจุดสีดำอยู่บริเวณตรงกลาง ซึ่งจุดสีดำเกิดจากน้ำมัน (Sebum) ทำปฏิกิริยา oxidation กับออกซิเจนในอากาศ เปลี่ยนไขมันเป็นสีดำ
1.2 สิวหัวขาว (White heads)
สิวอุดตันหัวปิด หรือเรียกกันว่า สิวหัวขาว มีลักษณะเป็นตุ่มนูน สิวยังไม่มีรูเปิด จึงทำให้ดันผิวจนนูนขึ้นมา เมื่อใช้มือลูบจะรู้สึกเหมือนมีไตก้อนเล็กๆ บีบออกยาก เพราะรากสิวลึก สิวประเภทนี้เมื่อปล่อยไว้นานๆ จะขยายขนาดขึ้น และมีโอกาสกลายเป็นสิวอักเสบชนิดต่างๆ ได้สูง
2. สิวอักเสบ (Step 3-4)
2.1 สิวตุ่มนูนแดง (Papule)
สิวตุ่มแดง เป็นตุ่มแดงเจ็บ ขนาดเล็ก ไม่เกิน 0.5 ซม. ส่วนมากสิวชนิดนี้เป็นสิวอักเสบในระยะแรกที่พัฒนามาจากสิวอุดตัน ขนาดจะเล็กกว่าสิวแบบ Nodular Acne และไม่มีอาการเจ็บเท่าไหร่
2.2 สิวหัวหนอง (Pustule)
มีลักษณะเป็นตุ่มแดงและปวด ข้างบนตุ่มมีหัวหนองสีเหลือง เป็นสิวที่มีอาการอักเสบมากกว่าสิวอักเสบชนิด Papule หรืออาจเกิดจากสิวมีการติดเชื้อแบคทีเรียอื่นแทรกซ้อน
2.3 สิวอักเสบขนาดใหญ่ (Nodular Acne)
ลักษณะเป็นตุ่มสีแดงขนาดใหญ่ (ขนาดเกิน 0.5 ซม.) อยู่ใต้ผิวหนัง เมื่อสัมผัสจะรู้สึกเจ็บ
2.4 สิวหัวช้าง (Acne Conglobata)
สิวอักเสบชนิดรุนแรง ขึ้นรวมกันหนาแน่น หัวสิวมักแตก มีหนองเยอะ และมีเลือดไหลเยอะ สิวมักมีจำนวนมากที่ใบหน้า หน้าอก และแผ่นหลัง
การดูแลรักษาสิว
ปัญหาสิวไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เพราะสิวอุดตันเพียงหนึ่งจุด ก็อาจก่อให้เกิดปัญหาใหญ่ตามมาได้ การดูแลรักษาสิวตอนที่ยังเป็นน้อยๆ จะช่วยป้องกันการลุกลามของสิวและหลุมสิวได้ดี ทั้งนี้ข้อสำคัญในรักษาสิวให้ได้ผลนั้น เราจำเป็นต้องรู้ก่อนว่าตนเองเป็นสิวประเภทใด ซึ่งการสังเกตลักษณะหรืออาการต่างๆ ล้วนมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการหาแนวทางในการรักษา ไม่ว่าจะเป็นวิธีการรักษา ระยะเวลาในการรักษา หรือแม้แต่ผลข้างเคียงของการรักษา
“สิวอุดตัน” ใช้ “ซีไนน์ แอคเน่ ครีม”
“สิวอักเสบ” ใช้ “ซีไนน์ แอคเน่ เจล”
ซีไนน์ แอคเน่ครีม / ซีไนน์ แอคเน่เจล … เพื่อผิวใส ไร้สิว
ลดการเกิดสิว
ควบคุมความมัน ลดการอุดตัน อันเป็นสาเหตุของการเกิดสิว
ลดรอยสิว
ลดการอักเสบ ซ่อมแซมผิวชั้นใน ลดการสร้างเม็ดสี
ลดรอยแผลเป็น
Centella Asiatica กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ซ่อมแซมผิวที่ถูกทำลาย ทำให้หลุมสิวเรียบเนียน
กระชับรูขุมขน
สร้างเคราตินเพื่อเป็นเกราะป้องกันผิวหนัง และช่วยกระชับรูขุมขน