Posted on

หากคุณรัก “ผม” คุณต้องใช้ “เคราติน”

สาวหลายคนคงเคยรู้จัก “เคราติน” จากร้านทำผม เพราะเป็นตัวทรีทเม้นท์ผมให้สวยงาม ซึ่งช่างเสริมสวยมักชอบเชียร์ให้ลูกค้าใช้ โดยบอกว่า ผมที่เสียจากการทำสีผม ดัดผม ยืดผม และจากการถูกรบกวนจากมลภาวะรอบกาย โดนทั้งความร้อน และสารเคมี สิ่งปนเปื้อนต่างๆ รวมถึงขาดการบำรุงที่ดีและไม่เพียงพอ จึงทำให้เส้นผมได้รับความเสียหาย ทั้งแห้ง แตกปลาย ชี้ฟู หยาบกระด้าง และหลุดร่วง หากได้ทำทรีทเม้นท์ด้วย “เคราติน” จะช่วยบำรุงผมให้แข็งแรง ผมที่เสียจะกลับมาดูสวย เงางามมีน้ำหนัก ไม่หลุดร่วงง่าย ไม่ว่าจะเคยใช้หรือไม่ก็ตาม สงสัยกันมั้ยคะว่า “เคราติน” นี้คือสารอะไร มีคุณสมบัติ และให้ประโยชน์อย่างไร เรามาทำความรู้จักกับเคราตินให้มากขึ้นกันนะคะ

เคราติน (KERATIN) คืออะไร

“เคราติน” เป็นชื่อของโปรตีนที่ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างสำคัญของผิวหนัง, เล็บ, ขน, และเส้นผมของมนุษย์ (และในเขา, นอ, ขน, เกล็ด, และกรงเล็บของสัตว์ชนิดอื่น ๆ หรือแม้กระทั่งในใยแมงมุม) โปรตีนเคราตินที่พบในคนและสัตว์มีกระดูกสันหลังมีโครงสร้างเป็นเส้นใย โดยกรดอะมิโนที่พบมากที่สุดในโครงสร้างของเคราติน คือ ซิสเตอีน (cysteine)ซึ่งซิสเตอีนแต่ละโมเลกุลมีการเชื่อมต่อกันด้วยเป็นพันธะไดซัลไฟด์ (disulfide bond) ซึ่งเป็นพันธะที่แข็งแรงมาก จึงส่งผลให้โปรตีนเคราตินมีความแข็งแรงและทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี

ต้นกำเนิดของเคราตินถูกสร้างโดยเซลล์ผิวหนังคีราติโนไซต์ (keratinocyte)ซึ่งเป็นเซลล์ต้นกำเนิดของผิวหนังที่พบได้บริเวณชั้นล่างสุดของผิวหนังชั้นนอก (epidermis)

เคราตินมีบทบาทเกี่ยวกับการเสริมสร้างความแข็งแรงของอวัยวะและปกป้องเซลล์เยื่อบุผิวจากการถูกทำร้ายจากสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม โดยช่วยป้องกันการดูดซึมของสารต่างๆเข้าสู่ร่างกาย ลดอันตรายจากรังสีอัลตราไวโอเลต และป้องกันการระเหยของน้ำจากผิวหนัง

เคราตินทำหน้าที่เป็นตัวประสานเนื้อเยื่อของผิวหนังเข้าด้วยกัน คุณสมบัติของเคราตินคือสร้างความแข็งแรงและความยืดหยุ่นให้กับชั้นเซลล์ผิวหนังและเป็นแหล่งความชุ่มชื้นของเส้นผม เส้นขนและเล็บ รวมถึงเป็นแหล่งอาหารที่ช่วยให้เซลล์ต่างๆ เจริญเติบโตได้เป็นปกติอีกด้วย

เคราตินบนผิวหนัง
เคราตินที่พบบริเวณผิวหนังชั้นนอก เช่น ที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า มีลักษณะเป็นแผ่นบาง และมีความอ่อนนุ่ม(soft keratin)มากกว่าที่พบบริเวณเส้นผมขน และเล็บ เนื่องจากโมเลกุลของโปรตีนมีพันธะไดซัลไฟด์น้อยกว่า
หากบริเวณผิวหนังขาดเคราติน จะทำให้ผิวแห้ง แตก ลอกเป็นขุย

เคราตินในเส้นผมและขน
ส่วนเส้นผมและขนที่ยื่นออกมาจากผิวหนัง (hair shaft) มีโปรตีนเคราตินเป็นส่วนประกอบถึง 95 เปอร์เซ็นต์ เคราตินที่พบจัดเป็นชนิดแข็ง (hard keratin) เนื่องจากมีพันธะไดซัลไฟด์จำนวนมาก โดยเคราตินที่บริเวณชั้นนอกสุดของเส้นผม (cuticle) มีการรวมตัวและยึดเกาะกันแน่นจนมีลักษณะเป็นแผ่นคล้ายกระเบื้อง ในขณะที่ชั้นกลาง (cortex) ซึ่งเป็นชั้นที่ใหญ่ที่สุด จะพบเคราตินแบบเส้นใยอัดตัวกันแน่นและพันเป็นเกลียวตามแนวยาวของเส้นผม โดยที่ชั้นนี้จะมีเม็ดสีเมลานิน (melanin) ที่ทำให้เส้นผมมีสีต่าง ๆ ตามเชื้อชาติของแต่ละคนอีกด้วย
การทำสีผม ดัด ยืดผม รวมถึงการมัดผมเป็นเวลานานๆ เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เคราตินธรรมชาติละลายหายไป โดยเส้นผมจะมีสัมผัสที่หยาบกระด้างชี้ฟู ไม่สามารถแต่งเป็นทรงได้ อาจทำให้ผมบางลง ผมร่วง เและผมขาดง่าย

เคราตินในเล็บ
เป็นเคราตินชนิดแข็งเช่นเดียวกับในเส้นผมและขน แต่เส้นใยเคราตินมีการยึดเกาะกันเป็นแผ่นแบนและวางตัวขนานกันตามแนวยาวของเล็บ หากขาดเคราตินบริเวณเล็บ จะทำให้เล็บเปราะหักง่าย ฉีกเป็นชั้น

หากอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายก็คือ เคราตินเป็นสารอาหารหลักของกระบวนการงอกใหม่ของเส้นผม เส้นขน และเล็บ รวมถึงเซลล์ผิวหนัง อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ไว้ใช้งานได้เองตามธรรมชาติ เคราติน มีกระบวนการสร้างเซลล์ใหม่ในลักษณะผลัดเซลล์เก่าแทนที่เซลล์ใหม่

โรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของการสร้างเคราติน

โรคดักแด้ (Epidermolysis Bullosa) ซึ่งการกลายพันธุ์ของยีนมีผลให้ผิวหนังแห้ง เปราะบางอย่างรุนแรงตั้งแต่กำเนิด และผิวหนังจะมีลักษณะพุพองมากขึ้นหากเกิดการเสียดสี

โรคผิวหนังเกล็ดปลา (Epidermolytic hyperkeratosis) ที่พบการสร้างเคราตินมาผิดปกติเนื่องจากการกลายพันธุ์ของยีน ทำให้ผิวหนังมีลักษณะแข็งคล้ายหิน

มะเร็งผิวหนังชั้นกำพร้า (Keratinocyte carcinoma) ซึ่งมักพบได้บ่อยในกลุ่มคนผิวขาว เกิดจากการได้รับรังสียูวีที่มากเกินไปจนยีนที่เกี่ยวข้องกับการแบ่งตัวของเซลล์คีราติโนไซต์เกิดการกลายพันธุ์จนทำให้เกิดการแบ่งตัวที่ผิดปกติและกลายเป็นมะเร็ง

การสร้างโปรตีนเคราตินในมนุษย์ถูกควบคุมโดยปัจจัยทั้งภายในและภายนอก ได้แก่ พันธุกรรม, ฮอร์โมน, สารอาหาร, รังสียูวี, การเกิดบาดแผล, และสารเคมีต่าง ๆ

การเลือกรับประทานอาหารเพื่อให้กระตุ้นสร้างเคราตินนั้น ควรเลือกอาหารที่อยู่ในหมวดโปรตีนเป็นหลัก นอกจากจะพบเคราตินในอาหารจำพวกโปรตีนเป็นหลักแล้ว รองลงมาก็คืออาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินซีและอาหารที่มีกรดอะมิโนจำเป็น เช่น กรดไขมัน โดยแหล่งอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายในกระบวนการสร้างเคราติน ได้แก่ ปลาแซลมอน ไข่ไก่ และตระกูลถั่ว เช่น อัลมอนด์ พีแคน มะม่วงหิมพานต์ วอลนัท ถั่วแดง มะม่วง สัปปะรด กีวี ลูกพืช ชีส นมพร่องมันเนย โยเกิร์ต บลูเบอร์รี ราสเบอร์รี สตอเบอร์รี บร็อคโคลี ผักปวยเล้ง ผักโขม ผักคะน้า หอยนางรม เมล็ดฟักทอง และเนื้อไก่ เป็นต้น

———————————————————————————————————————————————————-
ให้โอกาส ซีไนน์ ได้ดูแลคุณ…

เนื่องจากเคราติน ถูกทำลายได้อย่างง่าย ทั้งจากอายุที่มากขึ้น จากสิ่งแวดล้อม และสารเคมีต่าง ๆ จากการทำผม ซีไนน์ จึงมีผลิตภัณฑ์ดูแลผมที่เสริมเคราติน เป็นก ารทำทรีทเม้นท์แบบง่าย ๆ ทำได้เองที่บ้านด้วยการสระผมตามปกติ  ซีไนน์ขอแนะนำ 3 ตัวช่วย เสริมเคราตินให้เส้นผม ดังนี้

KERATIN ROSE SHAMPOO

KERATIN ROSE CONDITIONER

KERATIN HAIR SERUM