Posted on

คัน…คัน…คัน…สารพัดปัญหาคันแก้ได้ด้วย ครีมสมุนไพรบรรเทาอาการคัน ตรา ไนน์ เฮิร์บ

ว่าด้วยเรื่องอาการคัน
บางครั้งอยู่เฉย ๆ ก็รู้สึกคัน ยิบ ๆ ไม่รู้สาเหตุ แต่มันก็มีสาเหตุนั่นล่ะ แต่เราไม่รู้
ลองนึกดู “คัน” มีหลายแบบ
คัน…แบบผิว ๆ แต่ไม่มีรอยอะไร
คัน…จากตุ่มแดง  ตุ่มเม็ดมีน้ำใส ๆ
คัน…เป็นผื่นแดงทั้งนูน และไม่นูน
คัน…จากรอยแห้งแตก เป็นขุย ยิ่งเกายิ่งคัน
คัน…จากแมลงสัตว์กัดต่อย
คัน…จากการแพ้น้ำยาต่าง ๆ ทั้งน้ำยาซักผ้า น้ำยาล้างจาน 
คัน…จากแพ้เครื่องสำอาง ครีมทาผิว สบู่
คัน…จากการติดเชื้อหิด เชื้อรา เป็นกลาก เกลื้อน
บางคนมีโรคประจำตัวก่อทำให้เกิดอาการแพ้ได้เช่นกัน เช่นโรคเบาหวาน ไทรอยด์ โรคตับ โรคไต
โรคมะเร็ง

คนเรามีอาการ “คัน” ได้ง่ายมาก เรามาทำความรู้จักอาการ “คัน” ให้มากขึ้น

อาการคัน (Pruritus) เป็นกลุ่มอาการทางผิวหนังที่พบได้บ่อย อาจเป็นเฉพาะที่ หรือเป็นทั่วร่างกายก็ได้ โดยอาจมีผื่นผิวหนังร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้  และอาจส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้ เช่น ทำให้เสียสมาธิ รบกวนการทำงาน การนอน หรือส่งผลเสียทางด้านจิตใจ  หากคันและมีการแกะเกาด้วย อาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนบริเวณผิวหนังตามมาได้ด้วย

ชนิดของอาการคัน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. อาการคันเฉียบพลัน  มีอาการคันเป็นมาไม่เกิน 1 สัปดาห์
2. อาการคันเรื้อรัง มีอาการเป็นมานานเกิน 1 สัปดาห์ถึงหลายเดือน

6 สาเหตุอาการคัน

1.โรคผิวหนังที่ซ่อนอยู่เดิม
   อาการคันยิบ ๆ บางครั้งอาจมีผื่นร่วมด้วย เช่น ลมพิษ ผื่นผิวหนังอักเสบ ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ถ้าเกาบ่อยก็จะทำให้เกิดอาการคันมากขึ้น และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้

2.โรคติดเชื้อทางผิวหนัง
   โรคหิด เกิดจากการติดเชื้อหิด จะมีอาการคันมากโดยเฉพาะตอนกลางคืน อาการคันและผื่นเกิดจากปฎิกิริยาไวเกินของร่างกายต่อตัวหิดและสิ่งขับถ่ายของหิด ผื่นของหิดนั้นจะพบบ่อยตามง่ามมือ ง่ามเท้า รักแร้ และรอบสะดือ และติดต่อง่าย
  กลาก เกลื้อน เกิดจากเชื้อรา  โดยเกลื้อนจะพบได้บ่อยตรงหลังส่วนบน หน้าอก และต้นแขน ต้นคอ ซึ่งทำให้เกิดอาการคันยิบๆบริเวณนี้ได้ ส่วนกลากนั้น ติดได้ทุกบริเวณ รวมถึงหนังศีรษะ

3. การระคายเคือง
    จากการแพ้เครื่องสำอาง สบู่ น้ำยาซักผ้า น้ำยาปรับผ้านุ่ม รวมไปถึงเนื้อผ้าที่สวมใส่อยู่ ล้วนเป็นสาเหตุของอาการคันได้

4. ภาวะผิวแห้ง
    ผิวแห้งนั้นพบบ่อยตั้งแต่ช่วงวัยทำงานขึ้นไป โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ยิ่งถ้าเป็นคนที่ชอบอาบน้ำอุ่น และใช้สบู่ก้อน ผิวก็จะแห้งได้ง่าย ซึ่งจะทำให้เกิดอาการคันตามมาได้ง่าย การรักษาควรปรับ ให้อาบน้ำด้วยน้ำอุณหภูมิธรรมดา สบู่เหลวที่อ่อนโยน และหมั่นทาครีมบำรุงผิวสม่ำเสมอ

5.โรคบางชนิดที่ซ่อนอยู่
    โรคบางอย่างทำให้เกิดอาการคันร่วมด้วย เช่น เบาหวาน ไทรอยด์ โรคตับ โรคไต และมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคกลุ่มนี้มักมีอาการคันยิบ ๆ  เรื้อรัง โดยที่ไม่มีผื่นชัดเจน

6. การใช้ยาบางชนิด
     ยาแก้ปวดกลุ่มโอปิออยด์ ยาต้านมาลาเรีย ยาปฏิชีวนะ ยากันชัก ยากลุ่มนี้สามารถทำให้เกิดอาการคันยิบๆ โดยที่ไม่มีอาการทางผิวหนังอื่นๆได้

โรคทางผิวหนังที่ก่อให้เกิดอาการคันอีกแบบหนึ่งคือ “ผื่น” เป็นลักษณะอาการทางผิวหนัง ที่เกิดจากสภาวะของร่างกายปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมไม่ได้ หรือที่เรียกว่าอาการแพ้ เช่นแพ้อากาศที่เปลี่ยนไป แพ้สารเคมีจากการใช้ชีวิตประจำวัน  ทำให้เกิดความระคายเคืองผิวและทำให้เกิดผื่นคันได้  นอกจากนี้ ผื่น ยังเป็นสัญญาณของร่างกายที่บ่งบอกอาการป่วยภายในอะไรบางอย่างด้วย ดังนั้น เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างผื่นคัน ผื่นแพ้ จึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม

ผื่นคัน ผื่นแพ้ 6 แบบ ที่ไม่ควรมองข้าม
ผื่นแบบที่ 1 >> ผื่นคันแดงตามตัว Exanthematous (Morbilliform)
เป็นผื่นคันที่พบได้ทั่วทั้งตัว และพบได้บ่อย โดยผิวหนังบริเวณที่มีอาการจะเป็นผื่นแดง ๆ หรือตุ่มใส และมีอาการคันบางครั้งอาจมีการตกสะเก็ดตามมา  สาเหตุของผื่นคันแบบนี้มาจากหลายรูปแบบ เช่น เกิดจากโรคผิวหนัง การติดเชื้อบางอย่าง แมลงสัตว์กัดต่อย แพ้ฝุ่น แพ้ยา ตลอดจนการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้หรือสารระคายเคือง เช่น น้ำยาทำความสะอาด เครื่องสำอาง  นอกจากนี้การพักผ่อนไม่เพียงพอ ภาวะเครียด อาจเป็นสาเหตุทำให้ผื่นคันดังกล่าวเป็นมากขึ้นได้

ผื่นแบบที่ 2 >> ผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำ (Dyshidrotic Eczema)
เป็นผื่นผิวหนังอักเสบชนิดหนึ่งที่มักจะเป็นเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ โดยผื่นจะมีลักษณะเป็นตุ่มใส ๆ แข็งๆ เกิดที่ฝ่ามือฝ่าเท้า หรือด้านข้าง ๆ นิ้วมือหรือ นิ้วเท้า  ผื่นชนิดนี้อาจจะมีความเกี่ยวข้องกับโรคภูมิแพ้ ภาวะการระคายเคือง หรือ การแพ้สารสัมผัสก็ได้ ส่วนใหญ่มีอาการคันร่วมด้วย และน้ำใส ๆ ในตุ่มหรือผื่น อาจจะกลายเป็นหนองจากการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อนได้ แล้วลอกเป็นแผ่นในที่สุด 

ผื่นแบบที่ 3 >> ผื่นลมพิษ หรือโรคลมพิษ (Urticaria)
มักมีอาการคันร่วมด้วย  ลักษณะเป็นผื่นหรือปื้นนูนแดง ไม่มีขุย มีทั้งผื่นคันขนาดเล็กและแบบที่ใหญ่ราว 10 ซม. มักลุกลามเร็ว โดยจะกระจายตามตัว แขนขา แต่จะปรากฏอยู่เพียงชั่วขณะ โดยมากมักไม่เกิน 24 ชั่วโมง ผื่นลมพิษเหล่านั้นก็จะราบไปโดยไม่มีร่องรอย สามารถเกิดขึ้นซ้ำได้บ่อย ๆ

ผื่นแบบที่ 4 >> ผื่นแดงที่มีลักษณะเป็นเส้นใยเล็กๆ (Livedo Reticularis)
ผื่นชนิดนี้พบได้ไม่บ่อย สาเหตุเกิดจากโรคหลอดเลือดอักเสบ ทำให้ระบบไหลเวียนของเส้นเลือดผิดปกติ อาจมีลักษณะเป็นผื่นนูนเป็นจ้ำเลือด ที่เรียกว่า Purpura หรือผื่นลายร่างแหที่เรียกว่า Livedo Reticularis ตลอดจนมีตุ่มกดเจ็บใต้ผิวหนัง  ผื่นแบบนี้อาจเกิดเป็นแผลเรื้อรัง และอาจจะมีการตายของเนื้อเยื่อได้ หากเกิดการขาดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนปลาย เช่น ปลายนิ้วมือนิ้วเท้า ใบหูหรือปลายจมูก เป็นต้น หากเป็นผื่นชนิดนี้ ต้องรักษาโดยอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเท่านั้น

ผื่นแบบที่ 5 >> ผื่นมีจุดเลือดออกใต้ผิวหนัง (Vasculitis)
ส่วนใหญ่พบบริเวณที่ขา และอาจกระจายทั่วทั้งขา เป็นอาการที่เกิดจากเส้นเลือดฝอยอักเสบ ลักษณะอาการมีหลายรูปแบบ เช่น เกิดตุ่มแดงนูน กดแล้วสีแดงไม่จาง ตุ่มพองมีเลือดออกข้างในแตกเป็นแผล เป็นผื่น สีม่วงแดง ผื่นเป็นร่างแหหรือคล้ายว่ามีตาข่ายเส้นเลือดอยู่ใต้ผิว 
ผื่นแบบจุดเลือดที่เป็นร่างแหนี้มาจากหลายสาเหตุด้วยกัน อาจเกิดจากการที่ผู้ป่วยเป็นโรคออโตอิมมูน เช่น โรคเอสแอลอี โรคติดเชื้อ เช่น วัณโรค เชื้อแบคทีเรียบางประเภท เชื้อไวรัสตับอักเสบ ซึ่งการรักษาผื่นชนิดนี้ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์

ผื่นแบบที่ 6 >> ผื่นมีตุ่มใส พอง เหมือนมีน้ำอยู่ข้างใน (Vesiculobullous Eruption)
มีลักษณะเป็นตุ่มที่มีน้ำใส ๆ อยู่ข้างใน สังเกตเห็นได้ชัด ไม่ใช่แค่ผื่นเล็กๆ แต่พบกระจายอยู่ตามตัวโดยทั่วไป อาจมีสาเหตุ ดังนี้
1) ภูมิคุ้มกันในร่างกายต่อต้านตนเอง ทำให้ผิวหนังเกิดการแยกชั้น และมีตุ่มน้ำพองที่ผิวหนัง และที่บริเวณเยื่อบุต่าง ๆ
2) เกิดจากพันธุกรรม
3) เกิดจากการติดเชื้อบางชนิด  เช่น โรคเริมและโรคอีสุกอีใส
4) การสัมผัสกับสารที่ก่อการระคายเคือง ไม่ว่าจะเป็นสารเคมี หรือเกิดจากการได้รับการเสียดสีจนมีอาการคัน เมื่อได้สัมผัสกับสิ่งกระตุ้นทางกายภาพ ในระดับที่รุนแรงขึ้น จึงทำให้เกิดตุ่มพองใส หรือตุ่มน้ำที่สามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจน
5) ภาวะผิดปกติอื่น ๆ ที่ส่งผลให้เกิดตุ่มน้ำพองที่ผิวหนัง เช่น โรคเบาหวาน โรคอะไมลอยด์โดสิส (Amyloidosis) และโรคพอร์ไฟเรีย (Porphyria)

หลักการรักษาอาการคัน          

          1. การรักษาแบบจำเพาะ ผู้ป่วยบางรายอาจต้องมีการตรวจเพิ่มเติมทางห้องปฏิบัติการ เพื่อหาสาเหตุของอาการคันให้พบ และหลีกเลี่ยงหรือกำจัดสาเหตุดังกล่าว
            – การใช้ยาทาประเภทสเตอรอยด์หรือยาทาลดการอักเสบชนิดอื่นๆ ในผู้ป่วยที่มีสาเหตุของอาการคันจากผื่นผิวหนังอักเสบ
            – การใช้ยาทากำจัดเชื้อรา หรือเชื้อหิด ในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อดังกล่าวที่ผิวหนัง
            – แพทย์อาจพิจารณาให้ยาที่จำเพาะต่ออาการคันจากโรคบางชนิด เช่น ภาวะดีซ่าน โรคไตวายเรื้อรัง หรือจากสาเหตุทางระบบประสาท
            – ในผู้ป่วยบางรายที่มีภาวะเครียดหรือมีอาการคันจนนอนไม่หลับ แพทย์อาจพิจารณาให้ยาต้านภาวะซึมเศร้า

         2. การรักษาประคับประคอง เพื่อระงับอาการคัน ได้แก่
            – ยาต้านฮิสตามีนชนิดรับประทาน ซึ่งมีหลายชนิด ทั้งชนิดที่ง่วงและไม่ง่วง การจะเลือกใช้ยาต้านฮิสตามีนตัวใดขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ โดยแพทย์จะปรับยาตามความเหมาะสม ทั้งต่อตัวโรคและการตอบสนองของผู้ป่วยแต่ละราย
            – การใช้ยาทาเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นของผิวหนัง ในผู้ป่วยที่เป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง และผู้ป่วยที่มีผิวแห้ง
            – การฉายแสงอาทิตย์เทียม (phototherapy) ซึ่งใช้ในบางภาวะ เช่นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง สะเก็ดเงิน และภาวะไตวายเรื้อรัง ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาแบบปกติ
            – พฤติกรรมบำบัด เพื่อลดอาการเครียด และควบคุมพฤติกรรมการเกา

การปฏิบัติตัวในผู้ป่วยที่มีอาการคัน
            – ตัดเล็บให้สั้น
            – หลีกเลี่ยงการแกะเกาบริเวณผิวหนัง เนื่องจากจะทำให้เกิดผิวหนังอักเสบหรือการติดเชื้อแบคทีเรีย และโรคอาจเป็นมากขึ้นได้
            – ใช้สบู่อ่อนๆ ใช้โลชั่นทาผิว เพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง
            – หลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้าขนสัตว์ ผ้าเนื้อหยาบ หรือใยแก้ว ซึ่งอาจระคายเคืองและกระตุ้นให้เกิดอาการคันเพิ่มมากขึ้นได้ ควรใส่เสื้อผ้าที่โปร่งสบาย ไม่รัด
            – ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย ไม่เครียด
            – ใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อควบคุมอาการคัน และรักษาโรคที่เป็นสาเหตุของอาการคัน

 การพยากรณ์โรค
            ภาวะคันสามารถดีขึ้น ควบคุมได้ หรือหายเป็นปกติได้ ในกรณีที่สามารถหาสาเหตุของอาการคันได้ชัดเจน  อาการคันจากบางสาเหตุอาจเป็นมากขึ้น เมื่อมีตัวกระตุ้นเช่น โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง รอยโรคมักกำเริบในช่วงหน้าหนาว  ผู้ป่วยที่มีอาการคันจากโรคทางระบบอื่นๆ ของร่างกาย เช่น ภาวะไตวายเรื้อรัง การพยากรณ์โรคขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัยร่วมกัน ทั้งปัจจัยของตัวโรคเอง และปัจจัยจากภายนอก ซึ่งอาการคันมักจะเป็นเรื้อรัง

 บรรเทาอาการคันด้วย ครีมสมุนไพรบรรเทาอาการคัน ตราไนน์ เฮิร์บ

ไม่ว่าจะคันจากสาเหตุใด บรรเทาอาการคันอย่างได้ผลด้วย ครีมสมุนไพรบรรเทาอาการคัน ตราไนน์เฮิร์บ ช่วยรักษาอาการจากโรคผิวหนังเรื้อรัง ผิวหนังเป็นผื่นคัน ผิวหนังอักเสบ คันจากน้ำเหลืองเสีย คันจากโรคเบาหวาน ผื่นคันจากลมพิษ แก้ผิวอักเสบช้ำบวม อาการคันอักเสบ ปวด แดง ร้อนจากมดแมลงกัดต่อย มีส่วนผสมจากสมุนไพรสกัดแบบเข้มข้น ได้แก่

1. เหง้าขมิ้นชันแห้ง
ช่วยรักษาอาการโรคผิวหนัง ผดผื่นคัน น้ำมันหอมระเหยในขมิ้นมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง ช่วยรักษาอาการปวดหรืออักเสบเนื่องจากไขข้ออักเสบ

2. ใบทองพันชั่งแห้ง
รักษาผื่นคัน และโรคผิวหนงัที่เป็นน้ำเหลืองบางชนิด

3. ใบพลูแห้ง
รักษาอาการผื่นคันอันเนื่องมาจากเกิดลมพิษ

4. เหงือกปลาหมอแห้ง
รักษาโรคผิวหนัง ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย รักษาโรคผิวหนังผื่นคัน

5. ใบชุมเห็ดเทศแห้ง
รักษาโรคผิวหนัง ผดผื่นคัน ผิวหนังอักเสบเป็นผื่นคัน หรือมีอาการคันบริเวณหนังศีรษะ

6. เหง้าว่านนางคำแห้ง
ใช้แก้แมลงสัตว์กัดต่อย แก้อาการเม็ดผื่นคัน โรคผิวหนังต่าง ๆ และฟกช้ำบวมตามร่างกาย

7. ใบเทียนกิ่งแห้ง
แก้น้ำเหลืองเสีย สมานบาดแผลแก้อ้กเสบช้ำ

8. ใบพญายอแห้ง
รักษาแผลน้ำเหลืองเสีย ผื่นคัน ลดอาการอักเสบ ปวด บวม แดง ร้อน จากแมลงกัดต่อย

9. ใบเสลดพงัพอนตัวผู้แห้ง
แก้ลมพิษ แก้ไฟลามทุ่ง แก้พิษแมลงสัตวกัดต่อย แผลฟกช้ำจากการกระแทก แผลมีเลือดออก

10. Menthol (เกล็ดสะระแหน่)
เป็นสารสกัดจากน้ำมันสะระแหน่ ใช้เป็นยาภายนอกเกี่ยวกับอาการปวดเมื่อย ฆ่าเชื้อ แก้บวม ลดอาการผื่นคัน
แก้พิษแมลงกัดต่อย

11. Camphor (การบูร)
ใช้ผสมในยาหม่อง ยาขี้ผึ้ง ยาครีมทาแก้เคล็ดบวม ขัดยอกแพลง แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อยและโรคผิวหนังเรื้อรัง

*ผลิตจากโรงงานมาตรฐานสากล ด้วยนวัตกรรมการผลิตที่ดึงสารสกัดสมุนไพรได้อย่างมีคุณภาพ และปราศจากสารสเตียรอยด์
จึงมั่นใจเรื่องความปลอดัยได้